เมนู

มีเรื่องเล่าว่า หญิงคนหนึ่งเหนื่อยล้าจากการเดินทางด้วย
กองเกวียนในทางกันดารทะเลทรายตลอดทั้งคืน ครั้นถึงเวลากลางวัน
เมื่อพระอาทิตย์อุทัยทรายร้อนระอุ นางไม่สามารถจะวางเท้าลงไปได้
จึงเอาตะกร้า (ที่เทินมา) ลงจากศีรษะแล้วเหยียบไว้ เมื่อตะกร้า
ร้อนมากเข้า ๆ โดยลำดับ นางก็ไม่สามารถ (เหยียบ) ยืนอยู่ได้ จึง
วางผ้าลงบนตะกร้านั้นแล้วเหยียบ เมื่อผ้าแม้นั้นร้อน นางจึงจับลูกน้อยที่
อุ้มมาให้นอนคว่ำหน้าลงแล้ว (ยืน) เหยียบลูกน้อยซึ่งส่งเสียงร้องไห้
จ้าอยู่ (นาง) ถูกความร้อนแผดเผา (ไม่ช้า) ก็ขาดใจตายในที่นั้นเอง
พร้อมกับลูกน้อย (ของนาง) นั้น.
บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์ตัวยาวทุกชนิดที่เลื้อยคลานไป
ความย่อยยับเพราะสัมผัสของสัตว์ตัวยาวเหล่านั้น พึงทราบด้วย
อำนาจแห่งเหตุมีถูกอ.. .พิษขบกัดเป็นต้น.

ลักษณะ 2


ธรรมทั้งหลายมีลักษณะอยู่ 2 ลักษณะ คือ สามัญญลักษณะ
(ลักษณะทั่วไป) 1 ปัจจัตตลักษณะ (ลักษณะเฉพาะตัว) 1 บรรดา
ลักษณะทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปัจจัตตลักษณะของ
รูปขันธ์ไว้เป็นอันดับแรกด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ก็
ปัจจัตตลักษณะนี้มีแก่รูปขันธ์เหล่านั้น หามีแก่ขันธ์ทั้งหลาย (นอกนี้)
มีเวทนาขันธ์เป็นต้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะ.
ส่วนอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ย่อมมีแก่ขันธ์
ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นด้วย เพราะฉะนั้น ลักษณะทั้ง 3 นั้นจึงเรียกว่า
สามัญญลักษณะ

เวทนา


คำเป็นต้นว่า กิญฺจ ภิกฺขเว เวทนํ วเทถ เป็นเหมือนกับคำที่
กล่าวมาก่อน จึงควรทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นและ ส่วนคำใดที่
ไม่เหมือนกับคำที่กล่าวมาก่อน คำนั้นมีการขยายความให้แจ่มแจ้ง
ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุขํปิ เวทยติ ความ ย่อมรู้ คือ เสวยอารมณ์ที่
เป็นสุข. แม้ในสองบทต่อมาก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้.
ถามว่า ก็อารมณ์นี้ ชื่อว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
ได้อย่างไร?

ตอบว่า เป็นได้เพราะเป็นปัจจัยแห่งสุขเป็นต้น เนื้อความนี้นั้น
มาแล้วแลในมหาลิสูตรนี้ว่า ดูก่อนมหาลิ ก็เพราะเหตุที่รูปเป็นเหตุนำมา
ซึ่งความสุข เป็นเหตุให้ก้าวลงสู่ความสุข.
ในบทว่า เวทยติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :
เวทนานั่นเองเสวยสุข ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลอื่น เพราะว่า เวทนา
มีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น เวทนาเสวยได้ก็เพราะ
อาศัยวัตถุกับอารมณ์ รวมความว่า ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงจำแนกปัจจัตตลักษณะเท่านั้น แม้ของเวทนา ด้วยประการดัง
พรรณนามาฉะนี้.

สัญญา


บทว่า นีลํปิ สญฺชานาติ ความว่า จำได้หมายรู้โดยทำบริกรรม
ในดอกไม้สีเขียวหรือในผ้า จนถึงขั้นอุปจาร หรืออัปปนา. ก็ชื่อว่า